จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

Lily - ดอกลิลลี่




ที่มา:http://www.youtube.com/watch?v=BoWo7b6oVoc

ดอกไม้ และผลไม้มงคลในงานสมรส


ดอกไม้ และผลไม้มงคลในงานสมรส (BRIDE) 

Thai Tradition STORY : Tan
          ฤกษ์ยาม หรือของที่เป็นสิริมงคลอยู่คู่กับพิธีหรือประเพณีต่าง ๆ ของไทยมาอย่างช้านาน ซึ่งความเชื่อส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับความเป็นมงคลก็มาจากชื่อของวัตถุชิ้น นั้นๆ เช่น ดอกรักสื่อถึงความรัก จึงมักจะใช้ในพิธีมงคลสมรส ดอกเข็ม สื่อถึงปัญญาอันแหลมคม จึงมักใช้กันในพิธีไหว้ครู หรือจะเป็นความเชื่ออื่นๆ เช่น นิยมปลูกขนุนไว้ในบ้านเพื่อให้ได้รับการเกื้อหนุนจุนเจือ เป็นต้น นอกจากนี้ความมีสิริมงคลยังรวมไปถึงลักษณะของวัตถุชิ้นนั้นๆ ด้วย เช่น อาหารที่เป็นเส้นที่นิยมทานกับในวันเกิด เพราะเส้นที่ต่อกันยาวหมายถึงอายุที่ยืนยาว หรือผลไม้รสหวานอย่างลำไยอันสื่อถึงความรักที่หวานชื่น จึงนิยมใช้กันในพิธีมงคลสมรส เป็นต้น
          ด้วยความเชื่อต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้พิธีกรรมต่าง ๆ ของไทย โดยเฉพาะพิธีอันเป็นมงคล มีการนำสิ่งของที่มีความหมายดี ๆ หรือสิ่งของที่มีชื่ออันเป็นสิริมงคลมาใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งพิธีมงคลสมรสเป็นพิธีหนึ่งที่มีการใช้ของมงคลต่าง ๆ มากมายภายในงาน โดยเฉพาะความน่าสนใจของดอกไม้และผลไม้ต่าง ๆ ที่แฝงความหมายไว้อย่างน่าสนใจทีเดียว
          ดอกไม้มงคล
          ดอกไม้นอกจากนิยมนำ มาใช้ประดับในงานแต่ง เพื่อให้เกิดความสวยงามแล้ว ยังสื่อถึงความหมายดี ๆ อันเป็นมงคลด้วย ดอกไม้มงคลที่นิยมใช้ในงานมงคลสมรสมีมากมายหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดต่าง ก็ให้ความหมายอันเป็นมงคลมากมาย เช่น

ดอกไม้ และผลไม้มงคลในงานสมรส
           1. ดอกรัก หมายถึง ความรักของคู่บ่าว-สาว เป็นดอกไม้ที่นิยมนำมาใช้ในพิธีมงคลสมรสแทบทุกครั้ง เพราะเป็นดอกไม้ที่สื่อความหมายได้อย่างตรงตัวที่สุด
           2. ดอกบานไม่รู้โรย เป็น ดอกไม้ที่สื่อถึงความรักของคู่บ่าว-สาวเช่นเดียวกัน สื่อความหมายถึงความรักของคู่บ่าว-สาวที่จะรักกันไม่รู้โรยและรักกันมั่นคง ตลอดไปนั่นเอง
           3. ดอกมะลิ ถือ เป็นดอกไม้ชั้นสูงที่นิยมใช้กันมากสื่อความหมายถึงความบริสุทธิ์ เป็นสิริมงคลทางด้านทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์ มีความรักและความคิดถึงแก่บุคคลทั่วไป
           4. ดอกกุหลาบ เป็น ดอกไม้อีกชนิดหนึ่งที่ทั่วโลกใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความรัก ปัจจุบันงานพิธีมงคลสมรสของไทยจึงมีการนำดอกกุหลาบ (โดยเฉพาะสีแดง) มาใช้อย่างแพร่หลาย
           5. ดอกดาวเรือง มีความหมายว่าการเจริญรุ่งเรือง สื่อความหมายว่าให้ครอบครัวใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ มีความเจริญรุ่งเรือง
           6. ดอกพุด มีความหมายเช่นเดียวกับดอกดาวเรือง คือความเจริญรุ่งเรือง และเสริมความหมายถึงความมั่นคงแข็งแรง สื่อความหมายว่านอกจากครอบครัวใหม่ที่เกิดขึ้นจะเจริญรุ่งเรืองแล้วยังมั่น คง และแข็งแรง ไม่หวาดหวั่นแม้ปัญหาใด ๆ
          นอกจากนี้ ยังมีใบไม้ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในพิธีมงคลสมรสเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่คู่บ่าว-สาวด้วย อาทิ ใบรัก ที่สื่อความหมายถึงความรักเช่นเดียวกับ ดอกรัก ใบเงิน ใบทอง ใบแก้ว สื่อความหมายถึงความร่ำรวยและความเจริญรุ่งเรือง ใบมะยม ที่สื่อความหมายว่าให้ครอบครัวใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นที่นิยมชมชอบของคนรอบข้าง เป็นต้น
          นอกจากดอกไม้มงคลที่นอกจากจะส่งกลิ่นหอมสวยงาม และยังให้ความหมายดี ๆ แล้ว ผลไม้ก็เป็นของมงคลอีกประเภทหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ประดับเพื่อความเป็นมงคลใน งาน อีกทั้งยังรับประทานได้ด้วย ซึ่งโดยหลัก ๆ แล้วผลไม้มงคลที่นิยมใช้กันมีอยู่ 5 ชนิด คือ

ดอกไม้ และผลไม้มงคลในงานสมรส
          1. ลำไย (Longan) ผลไม้มงคลที่คนจีนบางกลุ่มนำไปใช้ร่วมกับพิธีการสู่ขอหญิงสาว เพราะเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของความหวานชื่น สำหรับหนุ่มสาวในงานพิธีมงคลนั้นๆ ในภาษาจีน"ลำไย" แปลว่า ดวงตา มังกร ซึ่งมังกรเป็นสัญลักษณ์ของฮ่องเต้ ดังนั้น จึงหมายถึงความเป็นผู้มีอำนาจ เป็นผู้นำปวงชน และเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพนับถือ ฉะนั้นลำไยคือผลไม้มงคลที่เชื่อว่าเป็นตัวแทนแห่งความรัก ความเป็นผู้นำ และอำนาจวาสนา
          2. ลิ้นจี่ (Lychee) เป็นผลไม้ชั้นสูงของคนจีนมาเป็นเวลานาน เล่ากันว่า สมัยหนึ่งฮ่องเต้ต้องให้ทหาร ผู้ที่ดูแลพระองค์จัดหาลิ้นจี่ที่สวยงาม ผิวสวยสีแดงสด เพื่อนำไปถวายพระมารดา และพระมเหสีของพระองค์เป็นประจำ ลิ้นจี่จึงเกิดการแพร่หลายในขุนนางชั้นสูงต่อกันไปเรื่อย ๆ จนเป็นที่นิยมโดยทั่วกัน เพราะผลที่มีสีแดงของลิ้นจี่นี่เองจึงทำให้เป็นที่นิยมนำไปใช้ในงานมงคลต่าง ๆ ตามความเชื่อที่ว่า "สีแดงเป็นสีแห่งความเป็นสิริมงคล"
          3. สับปะรด (Pineapple) เป็น ผลไม้มงคลที่คนนิยมนำไปไหว้ในพิธีการต่าง ๆ เชื่อกันว่าจะทำให้เกิดความรอบคอบ รอบรู้ในสิ่งต่าง ๆ ดูแลกิจการงานได้ทั่วถึง สายตากว้างไกลประดุจดั่งสับปะรดที่มีดวงตารอบตัว
          4. กล้วย (Banana) ผล ไม้มงคลที่เกิดขึ้นจากลักษณะของกล้วยที่มีจำนวนมากใน 1 หวี มีความเชื่อว่าการกินกล้วยจะทำให้มีเด็กที่เกิดมาเป็นคู่ หรือเป็นแฝด อีกทั้งยังเชื่อว่ากล้วยเป็นตัวแทนของการขยายธุรกิจของครอบครัวอีกด้วย สำหรับคนไทยจะเห็นได้ว่าต้นกล้วยจะถูกใช้ในขบวนขันหมาก โดยต้องขุดให้ติด รากหรือมีตา เลือกหน่อที่สมบูรณ์ และขุดมาเป็นคู่ นำมาประดับตกแต่งด้วยกระดาษสีให้ดูสวยงาม และคู่บ่าวสาวจะต้องทำการปลูกร่วมกัน คล้ายเป็นการเสี่ยงทายอย่างหนึ่ง หากต้นกล้วยเจริญเติบโตออกดอกผลสมบูรณ์ จะทำให้ความรักของหนุ่มสาวคู่นี้เป็นไปอย่างราบรื่น มีลูกหลานเต็มบ้าน ฐานะความเป็นอยู่ก็จะสมบูรณ์พูนสุข
          5. ทุเรียน (Durian) เป็น ผลไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ในตัวเองมาก มีเนื้อในที่สวยงามสีเหลืองดั่งทองคำ ด้วยความฉลาดหลักแหลมของธรรมชาติ จึงได้สร้างเกราะคุ้มกันเนื้อในสีทอง โดยการสร้างหนามแหลมคม รอบตัวเพื่อป้องกันสัตว์ร้ายต่างๆ มารบกวน ดังนั้นทุเรียน จึงเป็นผลไม้มงคลที่เชื่อว่าเป็นตัวแทนของความฉลาดหลักแหลม เข้มแข็ง สามารถป้องกันตนเองได้
          นอกจากผลไม้ 5 ชนิด ที่กล่าวมายังมีผลไม้ความหมายดี ๆ อีกมากที่นิยมนำมาใช้ในงานมงคลสมรส เช่น ส้ม สื่อความหมายถึงความสุขสวัสดี มหามงคล ส้มโอ สื่อความหมายถึงความเพิ่มพูน มีเพิ่มมากขึ้น หรืออ้อย ที่ความหวานของมัน สื่อถึงความรักของคู่บ่าวสาว เป็นต้น
          อย่างไรก็ดี แม้งานมงคลสมรสจะประกอบไปด้วยของมงคลมากมายเพียงใด หากคู่บ่าว-สาวไม่ดำรงชีวิตตั้งมั่นอยู่ในความรัก ความซื่อสัตย์แล้ว ของมงคลเหล่านั้นก็มีอาจช่วยให้ชีวิตคู่ของบ่าว-สาวมงคลได้




ที่มา:http://wedding.kapook.com/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99-37011.html

แก้วเจ้าจอม เสน่ห์แบบไทยๆ


แก้วเจ้าจอม เสน่ห์แบบไทยๆ




ที่มาของแก้วเจ้าจอมมาจาก หมู่เกาะอินดีสตะวันออก เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดดอกแก้วเจ้าจอมมาก จึงนำมาจากประเทศชวา (อินโดนีเซียครั้งเสด็จประพาส แล้วทรงนำมาปลูกใน เขตพระราชอุทยานวังสวนสุนันทา ปัจจุบันมีเพียงต้นเดียวเท่านั้นที่เป็นต้นดั้งเดิม บริเวณด้านหลังเนินพระนาง หรือ พระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์พระบรมราชเทวี และภายหลังได้กลายมาเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และพระราชทานนามว่า “ต้นแก้วเจ้าจอม”
แม้แก้วเจ้าจอมจะเป็นไม้ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ แต่เนื่องด้วยสภาพภูมิอากาศเอเชียอาคเนย์ ไม่แตกต่างกันมากนัก ทำให้แก้วเจ้าจอมสามารถเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทย แต่แก้วเจ้าจอม ก็มีคุณลักษณะเฉพาะ นั่นคือ โตช้า แต่ก็เป็นพันธุ์ไม้ที่มีทรงพุ่มสวยงามโดยธรรมชาติ ไม่มีความจำเป็นในเรื่องการตัดแต่งทรงพุ่ม เรียกว่าเป็นเป็นพันธุ์ไม้ประดับที่มีมนต์เสน่ห์ที่ทรงพุ่มสวยงามตลอดปีเลยก็ว่าได้ เนื่องจากพุ่มจะกลมอยู่เสมอ โดยไม่ต้องตัดแต่งแต่อย่างใด


เหตุที่ตำแหน่งในการปลูกต้นแก้วเจ้าจอมอยู่ในบริเวณนั้นเนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้ที่มีทรงพุ่มกลม การเจริญเติบโตค่อนข้างช้า และต้องการแสงแดดเต็มวัน จึงไม่ควรปลูกใกล้กับพันธุ์ไม้ชนิดอื่น เพราะจะทำให้ต้นสูงชะลูดไม่ได้รูปทรง ความหนาแน่นของใบจะลดลงมาก แก้วเจ้าจอมมีความต้องการน้ำในระดับปานกลางเท่านั้น การรดน้ำมากหรือน้อยเกินไปจะไม่มีผลดีกับแก้วเจ้าจอม พาลใบจะร่วงเอาถ้าหากดูแลมากหรือน้อยเกินไป

 
4 ใบ 



 6 ใบ
8 ใบ

                ส่วนดอกนั้น จะออกเป็นช่วงๆตลอดปี แต่ช่วงฤดุหนาว ตั้งแต่ พฤศจิกายน –กุมภาพันธ์ จะออกดอกมากกว่าปกติ ดอกจะ เป็นช่อดอก กลีบดอกสีม่วง -คราม จำนวน 5-6 กลีบ เกสรสีเหลือง ดอกเท่าขนาดมะลิลา หรือเล็กกว่า ส่วนช่อนั้นจะใหญ่ตามระดับความเจริญงอกงามของลำต้น ต้นที่งามดี อาจจะช่อละประมาณ 30-50 ดอก เวลาบาน จะค่อยๆบาน และบานยาวนานจนกว่าจะบานครบทั้งดอก จึงทำให้มองเห็นว่ากลีบดอกของต้นแก้วเจ้าจอมนั้นมีหลายสี เช่น สีม่วง สีคราม สีฟ้า เป็นเพราะระยะเวลาในการบานไม่เท่ากัน ทำให้ดอกที่บานมาก่อน บานมานานกว่า เริ่มที่จะมีสีที่ซีดจาง แต่ก็ดีดูกลมกลืนไปอีกแบบ ถือว่าตรงนี้กลายเป็นเสน่ห์ของต้นแก้วเจ้าจอมก็ว่าได้



                นอกจากลักษณะของดอกที่มีเอกลักษณ์แล้ว สิ่งหนึ่งที่เด่นชัดของต้นแก้วเจ้าจอม คือ มีอีกหลายสายพันธุ์นั่นคือ พันธุ์ 4 ใบ 6 ใบ และ 8ใบ  แต่ที่นิยมปลูกกันมากคงเป็น 4 และ 6 ใบมากกว่า เนื่องจาก 8 ใบนั้นเจริญเติบโตช้ากว่ามาก ส่วนดอกนั้นก็เช่นกัน เมื่อครบเวลา 5 ปี ต้นแก้วเจ้าจอม 4 ใบ และ 6 ใบ ก็จะออกดอก แต่ 8 ใบ อาจจะใช้เวลามากกว่านั้น ต้องขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นไม้ด้วย
                ส่วนแก้วเจ้าจอมที่อยู่ในรั้วรังสิตนั้นเป็นแก้วเจ้าจอมพันธุ์ 6 ใบ ซึ่งถือว่าเป็นที่นิยมมากในท้องตลาด เนื่องจาก ค่อนข้างโตเร็วที่สุดในบรรดาต้นแก้วเจ้าจอมด้วยกัน แต่ก็ยังจัดว่าช้ามาก หากไปเปรียบเทียบกับต้นพะยอม
                จุดเด่นที่สำคัญของต้นแก้วเจ้าจอม คงไม่ใช่ดอกที่สวยงาม แต่คงเป็นทรงพุ่มที่ดูมีเสน่ห์โดยไม่ต้องแต่งกิ่ง ไม่ว่าต้นแก้วเจ้าจอมสายพันธุ์ใดก็ยังคงลักษณะเด่นอันนี้ไว้  คือ ต้นจะเป็นพุ่มกลมอยู่เสมอ  ส่วนการขยายพันธุ์นั้น นิยมเพาะเมล็ดเพียงอย่างเดียว เพราะพันธุ์ไม้ต้นนี้หากต้องการที่พุ่มสวย แต่การขยายพันธุ์อื่นที่นิยมก็มี เช่น ทางการตอน การต่อกิ่ง ก็ติดได้ยากมาก เพาะเมล็ดจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่อาจจะต้องใช้เวลานานถึง 5 ปี กว่าจะได้ชมดอกสีครามสวยๆ
                ประโยชน์อย่างหนึ่งที่คนทั่วไปไม่รู้นั่นคือ เนื้อไม้เป็นไม้ที่หนักที่สุดในโลก  แก่นไม้มีลักษณะสีน้ำตาลอมเขียวถึงดำ กระพี้ มีสีเหลืองอ่อน  เนื้อไม้แข็งมาก  เป็นมัน  คุณสมบัติของเนื้อไม้มีลักษณะเป็นเส้นประสานกันแน่น  และหนักมาก  ไม้ชนิดนี้จมน้ำ  ทนต่อแรงอัด  และน้ำเค็ม  จึงนิยมนำมาใช้ทำกรอบประกับเพลาเรือเดินทะเล  หรือกรอบประกับเพลาเครื่องจักรในโรงงานต่างๆ  ทำสิ่ว  และนำมากลึงทำของใช้ต่างๆ  เช่น  ทำลูกโบว์ลิ่ง  ทำรอก  เป็นต้น



                นอกจากนั้นยังใช้เป็นยารักษาโรคได้โดยใช้เป็นยาสมุนไพรจากทุกส่วนของลำต้น  โดยเฉพาะยางจากเนื้อไม้ในธรรมชาติซึ่งยางไม้นี้มีสีน้ำตาลอมเขียว  ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิดในปริมาณค่อนข้างสูง  ซึ่งมีคุณสมบัติในการรักษาโรค ได้แก่ แก่นไม้  ยางไม้ธรรมชาติ
                แก้วเจ้าจอมที่ขายในตลาดต้นไม้ทั่วไปมี แบบด้วยกัน คือ แบบเพาะเมล็ดและย้ายปลูกในภาชนะปลูกขณะที่ต้นยังเล็กอยู่ และอีกแบบหนึ่งก็คือ เป็นแก้วเจ้าจอมที่ปลูกลงพื้นดินเมื่อได้ขนาดตามต้องการจะใช้วิธีการขุด ล้อมออกจากพื้นที่ (การบอน) ทั้งสองชนิด มีข้อดีแตกต่างกันออกไปคือ

                แบบเพาะเมล็ดและย้ายปลูก จะได้แก้วเจ้าจอมที่ค่อนข้างแข็งแรง ทรงพุ่มได้สัดส่วน ดูแลรักษาภายหลังปลูกง่าย การเจริญเติบโตภายหลังปลูกรวดเร็ว แต่ก็มีข้อจำกัดที่ขนาดของต้นจะค่อนข้างเล็ก เหมาะกับผู้ที่ยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาพันธุ์ไม้ชนิดนี้


                แบบปลูกลงพื้นดินและทำการบอนขึ้นมาปลูก วิธีนี้จะได้แก้วเจ้าจอมที่มีขนาดใหญ่ตามจำนวนเงินที่ท่านมี วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่มีความต้องการต้นไม้ขนาดใหญ่ในทันที การดูแลรักษาแก้วเจ้าจอมภายหลังปลูกจะต้องดูแลรักษาอย่างดีในช่วง ปีหลังการย้ายปลูก

                นายจุล ศักดิ์สุภาพ  เกษตรกรผู้เพาะปลูกต้นแก้วเจ้าจอม ได้พูดถึงต้นแก้วเจ้าจอมว่า เหตุที่ต้นแก้วเจ้าจอมไม่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคงเป็นเพราะราคาของต้นแก้วเจ้าจอมเองที่ค่อนข้างสูง เช่น ขนาดกระถางดินเผา 1 ปิ๊บราคาตกอยู่ที่ 2000 บาท ส่วน 2 ปิ๊บ ราคาอยู่ที่ 3500 บาท ทั้งพันธุ์ 4 ใบ และ 6 ใบ แต่ที่นิยมปลูกกันมากคงเป็นพันธุ์ 6 ใบ เพราะโตเร็วกว่ามาก 3 ปี ก็จะสูงประมาณ 1.5-2 เมตร

                “ส่วนอื่นนั้นค่อนข้างไม่แตกต่างกัน จะมีอยู่ที่พันธุ์ 8 ใบ จะมีขนาดลำต้นที่เล็กกว่า พันธุ์อื่นหลายเท่าและโตช้ากว่ามากดอกเล็ก จึงไม่เป็นที่นิยมของผู้ปลูกต้นไม้ และส่วนใหญ่ลูกค้าที่ซื้อ ซื้อไปเพราะทรงพุ่ม และชื่นชอบในชื่อมากกว่า ชมดอก เพราะหลายช่วงที่ขายได้ ก็ไม่มีดอก แต่คงเป็นเพราะแก้วเจ้าจอมเป้นต้นไม้ที่มีเสน่ห์ทางด้านลักษณะทรงพุ่ม”


ทุ่งบานชื่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก


ทุ่งบานชื่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก


     ทุ่งบานชื่นที่ใหญ่ที่สุดในโลกนี้ กำลังจะเกิดขึ้นที่บ้านเกิดของพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ที่อำเภอสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เป็นที่แรกของโลก นับว่าตั้งแต่มีดอกบานชื่นมายังไม่เคยมีที่ใดในโลกนี้ ปลูกดอกบานชื่นได้เยอะและใหญ่เท่าที่บ้านเกิดหลวงปู่เลย
 
     ซึ่งการปลูกดอกบานชื่นในครั้งนี้ เพื่อเป็นการบูชาธรรมพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ เนื่องในวาระครบรอบ 125 ปี และจะจัดพิธีตักบาตรพระภิกษุสงฆ์สามเณรจำนวน 12,500 รูป ในวันที่ 10 ตุลาคม 2552 เวลา 06.00 น.
 
     ดอกบานชื่น ในทุ่งบานชื่นที่ใหญ่ที่สุดในโลกนี้ จะมีด้วยกัน 7 สี คือ 1.สีม่วง 2.สีคราม 3.สีน้ำเงิน 4.สีเขียว 5.สีเหลือง 6.สีแสด 7.สีแดง  จำนวนกว่า 200,000 ต้น บนพื้นที่กว่า 60 ไร่
 
     แหล่งเพาะพันธุ์ปลูกดอกบานชื่นขายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ อยู่ที่ อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี ซึ่งการปลูกดอกบานชื่นในทุ่งบานชื่นที่ใหญ่ที่สุดในโลกในครั้งนี้ ได้มีผู้ชำนาญการที่เก่งที่สุดในประเทศ มาช่วยดูแลเรื่องการเพาะปลูกดอกบานชื่น ตั้งแต่เพาะพันธุ์เมล็ด ลงแปลง ลงปลูก อย่างมืออาชีพ เพราะผู้ชำนาญการที่มาช่วยรับบุญในครั้งนี้ได้ทำอาชีพเพาะพันธุ์ต้นกล้าดอกบานชื่นขาย และส่งออกทั่วประเทศมาแล้วเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี
 
 
 
แปลงเพาะต้นกล้าบานชื่น 
 
 
ตอนนี้ต้นกล้าบานชื่นอายุได้ 10 วัน สูงกว่า 8 ซม. 
 
 
นำต้นกล้าบานชื่น ปลูกลงพื้นที่จริงโดยมืออาชีพ 
 
 
ดอกบานชื่น ปลูกแล้วจะชื่นบาน 
 
 
 ดอกบานชื่น ปลูกแล้วจะชื่นบาน แบบใกล้ๆ
 



ที่มา: http://www.dmc.tv/pages//%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81.html

บานไม่รู้โรย


บานไม่รู้โรย Gomphrena globosa Linn.



ชื่อวิทยาศาสตร์ Gomphrena globosa Linn.

วงศ์ AMARANTHACEAE

ชื่อสามัญ Bachalor's Button,Button Agaga,Globe Amaranth,Pearly Everlasting

ชื่ออื่นๆ กะล่อม ตะล่อม (ภาคเหนือ) ดอกสามเดือน กุนหยี (ภาคใต้)



บานไม่รู้โรย ความหมายของชื่อดีจังเลยค่ะ
เพราะเป็นดอกไม้ที่สวยทนนาน ไม่เหี่ยวเฉาง่าย

เชื่อกันว่าถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้
บานไม่รู้โรยคงเข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอปรัดเล ปี พ.ศ.๒๔๑๖
เขียนไว้ว่า " บานมิรู้โรย ; ดอกไม้อย่างหนึ่ง บานแล้วไม่โรยไม่เหี่ยวเลย
ดอกไม้อย่างอื่นบานแล้ว โรยเหี่ยวแห้งไป "
แสดงว่าคนไทยเมื่อ ๑๓๐ ปีก่อนโน้น รู้จักบานไม่รู้โรยกันเป็นอย่างดีแล้ว




บานไม่รู้โรยเป็นไม้ล้มลุก เนื้ออ่อน พุ่มเตี้ย
ตามลำต้นกิ่งก้านและใบปกคลุมด้วย ขนละเอียดสั้นๆ
ใบออกเป็นคู่ ตรงข้ามสลับเวียนไปตามข้อต้น ขอบใบเรียบ
ปลายใบค่อนข้างแหลม ดอกออกตรงส่วนปลายของกิ่งแขนง
ออก พร้อมกันทีละมากๆ ทรงดอกค่อนข้างกลม





แต่ละดอก ประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก
ดอกย่อยแต่ละดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ
เมื่อติดเมล็ดแล้วกลีบดอกยังคงติดอยู่กับก้านดอก
ไม่ร่วงหล่นเหี่ยวเฉาหรือเปลี่ยนสีเหมือนดอกไม้ชนิดอื่น
เป็นลักษณะเด่นของดอกไม้ชนิด นี้จึงได้ชื่อว่าดอกบานไม่รู้โรย





ประโยชน์หลักอย่างหนึ่งของดอกบานไม่รู้โรยที่รู้จักกันดีก็คือ
การนำมาตกแต่งในงานพิธีต่างๆ เพราะ นอกจากงดงามคงทนได้นานแล้ว
ยังถือเป็นดอกไม้มงคลชนิดหนึ่งด้วย เพราะหมายถึงความยั่งยืนนานไม่ร่วงโรย
จึงมักใช้ร้อยเป็นพวงมาลัย หรือร้อยเป็นอุบะประดับในงาน




หรือจัดเป็นพานพุ่มสำหรับบูชาพระ ไหว้ครู หรือประดับ ในงานต่างๆ
เด็กนักเรียนในอดีตจะคุ้นเคยกับการจัดพาน พุ่มจากดอกบานไม่รู้โรยเป็นอย่างดี
เพราะถูกเกณฑ์ให้เก็บดอกบานไม่รู้โรยมาเสียบกับไม้กลัดที่ทำจากไม้ไผ่
แล้วปักลงบนดินเหนียวที่พูนเอาไว้บนพานเป็นรูปทรงที่ต้องการ
สลับสีเป็นลวดลายต่างๆ ตามที่เห็นว่าสวยงาม
พานพุ่มดังกล่าวปัจจุบันปรับเปลี่ยนจากไม้กลัดเป็นเข็มหมุด
จากดินเหนียวเป็นโฟมหรือพลาสติก
แต่ก็ยังคงใช้ดอกบานไม่รู้โรยอยู่อย่างเดิม




ต้นบานไม่รู้โรยนับเป็นพืชที่ปลูกขยายพันธุ์ง่าย
และแข็งแรงทนทาน จึงพบเห็นขึ้นอยู่ทั่วไป
ชอบแสงแดดจัดจึงเหมาะสำหรับปลูกกลางแจ้ง
ต้องการความชื้นบ้าง และทนทานความแห้งแล้งได้ดีพอสมควร
ออกดอกได้ตลอดทั้งปี





การปลูกก็เพียงแต่พรวนดินแล้วโรยเมล็ดลงไปก็พอแล้ว
เมื่อได้ความชื้นจากฝนหรือน้ำที่รดให้ก็จะงอกงามขึ้นมาได้เอง
เหมือนกับที่เพลงสำหรับเด็กเพลงหนึ่งมีเนื้อร้องว่า

"วันนี้เป็นวันจันทร์ฉันจะปลูกทานตะวันไว้รอบๆ บ้าน
พรุ่งนี้วันอังคารบานไม่รู้โรยฉันจะโปรยริมรั้ว..."
























ดอกบานไม่รู้โรยในประเทศไทยพบอยู่ ๓ สี
คือ สีขาว สีม่วงแดง และสีชมพู
ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นลูกผสมระหว่างสีขาวกับสีม่วงแดง





















ประโยชน์ของบานไม่รู้โรย
แพทย์แผนไทยนำบานไม่รู้โรยมาใช้รักษาโรคได้หลายชนิด
ดังปรากฏในตำราสรรพคุณสมุนไพรดังนี้




*ต้น : รสขื่นเล็กน้อย ขับ ปัสสาวะ แก้หนองใน กามโรค แก้กระษัย ขับระดูขาว แก้กล่อนปัตตะคาด

*บานไม่รู้โรยขาวทั้งห้า : แก้ ไอหรือรากเป็นเลือด เลือดออกจากทวารทั้งเก้า

*ดอกบานไม่รู้โรยขาว : แก้นิ่ว


ที่มา:http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=see&month=04-01-2012&group=5&gblog=48

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

บัวสวรรค์, ดอกบัวสวรรค์


บัวสวรรค์, ดอกบัวสวรรค์

บัวสวรรค์, ดอกบัวสวรรค์
บัวสวรรค์, ดอกบัวสวรรค์
วันนี้ขอแนะนำไม้ดอกหอม ที่ชื่อ “บัวสวรรค์
บัวสวรรค์ หรือ Gustavia (กัสตาเวีย) อยู่ในสกุล Gustavia
ซึ่งไม้ดอกในสกุลนี้ ดอกมีลักษณะคล้ายๆ กันอีกหลายชนิดเลยครับ
ส่วนบัวสวรรค์ชนิดนี้ น่าจะเป็นชนิด Gustavia augusta (อ้างจาก องค์การสวนพฤกษศาสตร์)
จัดอยู่ในวงศ์กระโดน LECYTHIDACEAE

บัวสวรรค์, ดอกบัวสวรรค์
บัวสวรรค์, ดอกบัวสวรรค์
ดอกบัวสวรรค์ ดอกไม้ที่มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก จนดูมีลักษณะคล้ายกับดอกบัว
เป็นดอกไม้ที่สวยงามมาก กลีบดอกสีขาวอมชมพู อ่อนหวานสวยงามมาก

ดอกบัวสวรรค์
ดอกบัวสวรรค์
ดอกบัวสวรรค์ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกบานอยู่ได้แค่เพียง 1 วันก็โรยแล้วครับ
แต่ว่า ดอกบัวสวรรค์สามารถทยอยออกดอกได้ตลอดทั้งปีเลยครับ

บัวสวรรค์ เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ที่มีถิ่นกำเนิดจากอเมริกาเขตร้อน
ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ แถบประเทศในเขตร้อนชื้น ใกล้เส้นศูนย์สูตรแบบบ้านเรา
ดังนั้นบัวสวรรค์จึงสามารถปรับตัวในบ้านเราได้เป็นอย่างดี จึงปลูกเลี้ยงง่าย ดูแลง่าย เจริญเติบโตได้ดี

ดอกบัวสวรรค์ แรกแย้ม เริ่มจะบาน
ดอกบัวสวรรค์ แรกแย้ม เริ่มจะบาน
นอกจากดอกบัวสวรรค์จะสวยงามสะดุดตา และดอกมีกลิ่นหอมแล้ว
ยังนิยมปลูกเป็นไม้ประดับกันด้วยนะครับ เพราะทรงพุ่มสวย และใบไม่ค่อยร่วงครับ

การปลูกบัวสวรรค์ ปลูกได้ทั้งแดดรำไรหรือได้รับแสงแดดครึ่งวัน
หากปลูกกลางแจ้งแดดจัดตลอดวัน ต้นและใบจะดูโทรมๆ ไม่ค่อยงามครับ
แต่หากปลูกในที่ร่มเกินไป ใบจะแน่นครับ ไม่ค่อยได้เห็นดอก เพราะดอกมักจะซ่อนอยู่ภายในพุ่มใบ

ดอกบัวสวรรค์ มุมมองจากด้านบน
ดอกบัวสวรรค์ มุมมองจากด้านบน
ดอกบัวสวรรค์เมื่อดอกโรยแล้ว มักติดผลได้ง่าย การเพาะเมล็ด สามารถงอกได้ดี
แต่หากปลูกจากต้นที่เพาะเมล็ด จะใช้เวลาปลูกนานหลายปี กว่าจะออกดอกนะครับ

ดังนั้น หากใจร้อน อยากชื่นชม ดมกลิ่นดอกบัวสวรรค์เร็วๆ
ก็ควรเลือกซื้อ ต้นบัวสวรรค์ ที่กำลังออกดอก ไปเลยดีกว่านะครับ
ไม่จะเป็น ไม้ล้อม กิ่งตอน กิ่งชำ หรือกิ่งทาบ ก็สามารถเลือกซื้อกันได้ตามสะดวกเลยครับ ^^



gallery:ดอกดาหลา

ดาหลา : ไม้ดอกไม้ประดับ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
          ลำต้น
 
          ดาหลาเป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายข่า มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า (rhizome) เหง้านี้ จะเป็นบริเวณที่เกิดของหน่อดอกและหน่อต้น ดาหลา 1 ต้น สามารถให้หน่อใหม่ได้ประมาณ 7 หน่อ ในเวลา 1 ปี ส่วนลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่น เช่นเดียวกับพวกกล้วย ส่วนนี้คือลำต้นเทียม (pseudostem) ลำต้นเหนือดินสูง 2-3 เมตร มีสีเขียวเข้ม
          ใบ 
          มีรูปร่างยาวรี กลางใบกว้างแล้วค่อย ๆ เรียวไปหาปลายใบ และฐานใบ ใบไม่มีก้านใบ ผิวเกลี้ยงท้งด้านบนและด้านล่าง ใบยาว 30-80 เซ็นติเมตร กว้าง 10-15 เซนติเมตร ปลายใบ แหลมฐานใบเรียวลาดเข้าหาก้านใบ เส้นกลางใบปรากฏชัดทางด้านล่างของใบ
          ดอก 
          ดอกดาหลาเป็นดอกช่อมีลักษณะดอกแบบ (head) ประกอบด้วยกลีบประดับ (Bracts) มี 2 ขนาด ส่วนโคนประกอบด้วยกลีบประดับขนาดใหญ่ มีความกว้างกลีบ 2-3 ซ.ม. จะมีสีแดงขลิบขาวเรียงซ้อนกันอยู่และจะบานออก ประมาณ 25-30 กลีบ และมีกลีบประดับ ขนาดเล็กอยู่ส่วนบนของช่อดอก ความกว้างกลีบประมาณ 1 ซ.ม. ซึ่งมีสีเดียวกับกลีบประดับ ขนาดใหญ่ กลีบประดับเล็กนี้จะหุบเข้าเรียงเป็นระดับมีประมาณ 300-330 กลีบ ภายในกลีบ ประดับขนาดใหญ่ที่บานออกจะมีดอกจนิงขนาดเล็กกลีบดอกสีแดง ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศอยู่ จำนวนมาก ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดความกว้างดอกประมาณ 14-16 เซนติเมตร ความยาวช่อ 10-15 เซนติเมตร มีก้านช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ลักษณะก้านช่อดอกแข็งตรง ดอก จะออกตลอดปีแต่จะให้ดอกดกที่สุดในช่วงฤดูร้อน คือ เดือนมีนาคม - พฤษภาคม ดอกจะ พัฒนามาจากหน่อดอกที่แทงออกมาจากเหง้าใต้ดินลักษณะของหน่อจะมีสีชมพู ที่ปลายหน่อ


ดอกดาหลา
         
 พันธุ์ 
          ปัจจุบันพันธุ์ดาหลาที่ปลูกตัดดอกมีอยู่ 2 พันธุ์ด้วยกันคือ พันธุ์สีชมพู และพันธุ์สีแดง
การขยายพันธุ์
          ดาหลาสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้ 
          1. การแยกหน่อ 
          
ควรแยกหน่อที่มีความเหมาะสมนำไปปลูกคือ สูงประมาณ 60-100 ซ.ม. ขึ้นไปและมีกิ่งอ่อนกึ่งแก่นประมาณ 4-5 ใบ ใช้มีตัดให้มีเหง้า และรากติดอยู่ด้วย ซึ่งหน่อชนิดนี้จะมีหน่อดอกอ่อน ๆ ติดมาด้วยประมาณ 3 หน่อ นำไปชำในถึงพลาสติก 1 เดือนเพื่อให้หน่อแข็งแรงก่อนปลูก
          2. การแยกเหง้า 
          
โดยการแยกเหง้าที่เกิดใหม่ที่โคนต้น แล้วนำไปชำในแปลงเพาะชำ วิธีนี้จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี จึงจะเริ่มให้ดอก
          3. การปักชำหน่อแก่ โดยนำไปชำในแปลงเพาะชำให้แตกหน่อใหม่แข็งแรง แล้วจึงค่อยย้ายมาปลูกลงแปลง



 ต้นดาหลา
การเตรียมแปลงปลูกดาหลา
          พื้นที่ดอน 
          ทำการพรวน ตากดินไว้ประมาณ 5 - 7 วัน และย่อยดินให้ละเอียดเก็บวัชพืชออกให้หมด
          พื้นที่ลุ่ม 
          ทำการขุดยกร่องสวน มีคูน้ำลึก 1 เมตร กว้าง 1 เมตร แปลงปลูกกว้าง 2-3 เมตร ความยาวตามขนาดของพื้นที่ และมีการไถพรวนตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน เก็บวัชพืชออกให้หมด
          การเตรียมดิน 
          การเตรียมดินโดยไถพรวนดิน แล้วขุดหลุมปลูก จากนั้นใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมในกรณีที่ปลูกดาหลาแบบไม่ยกร่องสวน จะทำการไถปรับดินให้สม่ำเสมอ เพิ่มปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตร 20-20-20 ในอัตรา 1 : 25 แล้วขุดหลุมปลูกแบบเดียวกับการปลูกแบบยกร่องสวนนี้อาจปลูกแซมในไม้หลักเช่น ไม้ผล
  
ระยะปลูก 
          การปลูกดาหลาจะไม่มีระยะปลูกที่แน่นอน แต่จะขึ้นอยู่กับความต้องการและความสะดวกของเกษตรกรเอง โดยส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรจะปลูกในระยะ 2 x 2 เมตร
การปลูก 
          
โดยใช้หน่อที่มีเหง้าและรากติดมาด้วย เหง้าที่ตัดมาควรมีความยาวประมาณ 5 นิ้ว โดยสังเกตุให้หน่อนั้น ๆ มีใบติดมาประมาณ 4 คู่ใบ ปลูกลงในหลุมที่เตรียมไว้ แล้วทำการกลบดินให้สูงประมาณ 6 นิ้ว รดน้ำให้ชุ่ม อาจใช้ดินเลนจากท้องร่องพอกทับโคนต้น เพื่อรักษาความชุ่มชื้น นอกจากนี้ควรหาไม้หลักมาผูกติดกับลำต้นกันต้นโยก
การดูแลรักษาดาหลา
          การให้ปุ๋ย 
          จะให้ปุ๋ยดาหลาประมาณ 2 - 3 เดือนต่อครั้ง ซึ่งจะใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ (16-16-16) ในอัตรา 96 กก./ไร่/ปี และให้ปุ๋ยคอกในอัตรา 15 กก./ต้น/ปี นอกจากนี้อาจใช้อินทรีย์วัสถุที่ผุพังแล้ว เช่น ใบไม้ต่าง ๆ หรือลำต้นแก่ของดาหลา, วัชพืชที่ขึ้นตามท้องร่อง มาเป็นปุ๋ยหมัก หรืออาจใช้ดินเลนจากท้องร่องพูนใส่ตามโค้นต้น ซึ่งดินแลนนี้จะมีอินทรีย์วัตถุสูง
          การให้น้ำ 
          ดาหลาเป็นพืชที่ต้องการน้ำในปริมาณที่มากพอสมควร โดยเฉพาะในระยะเริ่มแรกของการปลูก ควรรดน้ำให้ชุ่ม โดยใช้แครงสาดวันละ 1 ครั้ง เมื่อต้นดาหลาตั้งตัวได้อาจเว้นระยะห่างของการให้น้ำจากวันละครั้งออกไปเป็นประมาณ 2-3 วันต่อครั้ง แต่ต้องคำนึงถึงสภาพอากาศ ถ้าเป็นฤดูร้อนควรเพิ่มการให้น้ำมากขึ้นโดยใช้ระบบการให้น้ำแบบพ่นฝอย (springkler) บนแปลงที่ไม่ยกร่อง



การป้องกันกำจัดวัชพืช 
          
ดาหลาเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตเร็ว แตกหน่อได้มาก ทำให้กอแน่นใบบังแสงซึ่งกันและกัน การกำจัดวัชพืชจะต้องกระทำมากในช่วงแรกของการปลูก เมื่อดาหลาโตมาก ๆ จะทำให้แสงที่ส่องผ่านมากระทบพื้นดินน้อย วัชพืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้ จึงไม่ต้องทำการกำจัดวัชพืชมากนัก
โรคและแมลงยังไม่พบโรคที่เป็นปัญหาสำคัญกับดาหลา แต่มีแมลงสำคัญดังนี้
          1. หนอนเจาะลำต้น 
          ลักษณะการทำลาย 
          เข้าทำลายต้นแก่ โดยไปเจาะบริเวณลำต้น ทำให้ต้นดาหลาหยุดชะงักการเจริญเติบโต และไม่สามารถให้ออกดอกได้ 
          การป้องกันกำจัด 
          ใช้ฟูราดาน 3% โรยบริเวณรอบ ๆ โค้นต้น หรืออาจใช้เซฟวิน
          2. มดแดง 
          ลักษณะการทำลาย 
          กรดจากสิ่งขับถ่ายของมดแดงจะทำให้กีบดอกเกิดรอยขาวเป็นจุด ๆ 
          การป้องกันกำจัด 
          เก็บรังมดแดงออกจากต้น และใช้ย่าฆ่ามด